สงสัยหรือไม่ เมื่อไรควรเปลี่ยนผ้าเบรก?

สงสัยหรือไม่ เมื่อไรควรเปลี่ยนผ้าเบรก?



...

ผ้าเบรค อุปกรณ์สำคัญที่คนขับรถห้ามมองข้าม อีกหนึ่งส่วนประกอบของรถยนต์ที่สำคัญใช้สำหรับชะลอ หรือหยุดความเร็ว ขณะขับรถเมื่อคุณเหยียบเบรค ผ้าเบรคจะดันจานเบรคเพื่อสร้างแรงเสียดทานทำให้ล้อรถชะลอตัว ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ผ้าเบรคนั้นบางลงเรื่อยๆ


เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนผ้าเบรค

โดยปกติแล้วผ้าเบรคนั้นจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยที่ประมาณ 50,000 - 60,000 กิโลเมตร ซึ่งระยเวลาที่นานนี่แหละที่อาจทำให้หลายๆ คนมักจะลืมตรวจสอบกันว่ารถยนต์ของตัวเองใช้งานผ้าเบรคมานานขนาดไหนแล้ว

 

หากจำไม่ได้ว่าผ้าเบรคเราใช้งานมานานขนาดไหน เราจะต้องสังเกตด้วยตัวเองว่าถึงเวลาที่ควรจะเปลี่ยนแล้วหรือยัง ซึ่งมีวิธีสังเกตง่ายๆ ดังนี้

  • เบรคแล้วเสียงดัง

อาการที่เห็นได้ชัดที่สุดเมื่อผ้าเบรคใกล้หมดก็ คือ เวลาเราเหยียบเบรค สังเกตได้จากทั้งเสียงและสัมผัสที่ผิดปกติ เช่น ดังเอี๊ยดๆ หรือครืดๆ ซึ่งหมายความว่าผ้าเบรคนั้นเรื่มบางลงแล้ว

 

หากปล่อยทิ้งไว้ให้มีเสียง และมีอาการเหล่านี้นานๆ อาจทำให้จานเบรคเกิดความเสียหายได้ ควรนำรถเข้าศูนย์เพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญดูแลและเปลี่ยนผ้าเบรคโดยทันที เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง


  • รู้สึกว่าเบรคมือหลวมๆ

ปกติแล้วเวลาจอดรถยนต์ไว้กับที่ก็จะต้องเข้าเกียร์จอด แล้วดึงเบรคมือขึ้น แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าเบรคมือหลวมๆ จนต้องดึงสูงกว่าปกติ นั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ ผ้าเบรคเริ่มบางมากแล้ว ควรเข้าไปทำการเช็คโดยด่วน


  • สังเกตไฟเตือนหน้าคอนโซล

รถยนต์หลายๆ รุ่นจะมีไฟเตือนหน้าคอนโซลเป็นสัญลักษณ์เตือน แสดงว่าระบบเบรคของคุณกำลังมีปัญหาแล้ว โดยอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น น้ำมันเบรครั่ว หรือผ้าเบรคเริ่มหมดจนต้องถึงเวลาเปลี่ยน

 

แต่ไม่ว่าปัญหาดังกล่าวจะเกิดจากอะไร แต่การที่สัญญาณไฟนี้ขึ้นแจ้งเตือนถือว่าระบบเบรคในรถยนต์ของคุณเริ่มมีปัญหา และอันตรายต่อการขับขี่บนท้องถนนค่อนข้างมากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นหากสังเกตเห็นสัญลักษณ์นี้ ให้รีบนำรถยนต์ไปเข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบจะดีที่สุด



หลังจากเปลี่ยนผ้าเบรกมาแล้วเราก็ควรดูแล และใส่ใจ เพื่อยืดอายุการใช้งาน และความปลอดภัยของทุกคน

วิธีดูแลผ้าเบรกเบื้องต้น

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถ

หากคุณต้องเปลี่ยนผ้าเบรกบ่อยๆ ให้คุณลองสังเกตดูว่า ปกติแล้วคุณขับรถยังไง? ขับเร็วหรือไม่ เหยียบเบรกกะทันหัน หรือเบรกรถแรงๆ รึเปล่า? ซึ่งถ้าหากมีพฤติกรรมเป็นแบบนั้นก็จะทำให้ผ้าเบรกของรถคุณจะสึกเร็วกว่าปกติ ซึ่งวิธีการแรกที่จะช่วยถนอม และยืดอายุการใช้งานผ้าเบรกได้ก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถให้เบาลง


2. ดูแลยาง ก็เหมือนดูแลเบรก

สาเหตุที่บอกว่าดูแลยางเท่ากับดูแลเบรกก็เป็นเพราะว่า ยางรถที่ถูกดูแลอย่างดี และสมบูรณ์ มีลมยางเพียงพอจะช่วยดูดซับแรงกระแทกเวลาเบรก และลดการเสียดสีของผ้าเบรกลงได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลรักษาผ้าเบรกทางอ้อมจึงควรหมั่นเช็คลมยาง และดูแลรักษายางรถอยู่เสมอ


3. ตรวจเช็คระบบเบรกตามเวลากำหนด

เวลาขับรถเราใช้เบรกแทบจะตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อถึงระยะควรตรวจเช็กระบบเบรกเพื่อความปลอดภัย ตรวจเช็คเป็นประจำทุก 3 เดือน หรือเมื่อขับรถได้ 8,000-10,000 กิโล และเราจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกทุกปี หรือเมื่อขับรถครบ 8,000-10,000 กิโล


4. ดูแลผ้าเบรกมากกว่าเดิม

ทุกครั้งเมื่อคุณเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ เพื่อการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ต้องดูแลและระมัดระวังกการขับขี่และการเหยียบเบรกมากกว่าเดิม เพราะผ้าเบรกใหม่จะมีระยะเวลา ที่เรียกว่า Bedding-in ซึ่งเป็นช่วงที่รถต้องปรับสภาพหน้าผ้าเบรกให้เข้ากับจานเบรก โดยจะต้องใช้ระยะทางประมาณ 200 - 300 กิโลเมตร ก่อนที่ผ้าเบรกเข้าที่ ถ้าหากคุณเผลอเหยียบเบรกแรงๆ ในช่วง Bedding-in มันอาจจะส่งผลให้ผ้าเบรก และจานเบรกเสียหายได้ เพราะแบบนี้คุณจึงจำเป็นต้องระมัดระวังการเหยียบเบรกมากกว่าเดิมเมื่อเปลี่ยนผ้าเบรกมาใหม่นั่นเอง

 

หากรถมีปัญหา หมด BSI แล้ว และต้องการหาอู่ที่ปรึกษา ไว้ใจได้ เข้ามา ที่ SCG Performance ได้เลยครับ 

 




Tags :

บทความอื่นๆ


รอบเดินเบาไม่นิ่ง จบปัญหาได้จริง ถ้าแก้ถูกจุด!

ต้นตอหลักของปัญหารถสั่นรุนแรงทุกครั้งที่สตาร์ทอาจมาจาก รอบเดินเบาไม่นิ่ง แก้ยังไงไปดูกัน


เบรกและยาง ระบบช่วงล่างที่ห้ามละเลย!

ระบบช่วงล่าง เป็นอีกส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนรถยนต์ โดยเฉพาะระบบเบรคและยางที่ทำหน้าที่ในการควบคุมรถ ความปลอดภัยของผู้ใช้ขึ้นอยู่กับการดูแลในส่วนนี้ แต่จะมีวิธีดูแลอย่างไรบ้าง เราจะมาแชร์ให้ได้ทุกคนรู้กัน


เปิดตำรา 5 วิธีดูแลรถยนต์ด้วยตัวเองเบื้องต้น 101

เซฟรถให้อยู่กับเราไปนานๆ ง่ายๆ เพียงแค่หมั่นดูแล 5 จุดสำคัญนี้อยู่เสมอ


แชร์ทริค! เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตอนไหน ดูแลยังไงไม่ให้เครื่องพัง!

หากไม่อยากให้เครื่องยนต์ทำงานไม่มีสิทธิภาพ น้ำมันเครื่องคือของเหลวตัวสำคัญที่ไม่ควรละเลย